วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประโยชน์ของส้มแขก





ส้มแขก( Garcenia Cambogia) เป็นพืชพื้นบ้านดั้งเดิมของไทย ที่นิยมใช้ในการประกอบอาหารมาเป็นเวลานานแล้ว ลักษณะของผลส้มแขก จะคล้ายฟักทองขนาดเล็ก มีมากทางภาคใต้ กิน lipo twin ซึ่งมีการนำมาปรุงเป็นอาหารโดย ใช้เพิ่มรสเปรี้ยวให้อาหารได้มีการค้นคว้าพบว่า ผลส้มแขก มีสาร HCA หรือ Hydroxy-citric acid อยู่เป็นจำนวนมาก โดยพบว่า HCA นี้มีคุณสมบัติในการยับยั้งการสะสมของไขมันส่วนเกินในร่างกาย และลดความอยากอาหารได้ จึงได้มีบางคนนำผลส้มแขกมาใช้ในการควบคุมน้ำหนัก
กลไกการออกฤทธิ์ของ HCA จะออกฤทธิ์โดยการไปยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ ATP Citrate Lyase ในวงจร Kreb's cycle (วงจรการย่อยสลายกลูโคส ของเซลร่างกาย) ทำให้ยับยั้งการนำน้ำตาล จากอาหารประเภท แป้ง ข้าว และน้ำตาล ไม่ให้เปลี่ยนไปเป็นไขมันสะสมตามร่างกายแต่จะนำไปใช้เป็นพลังงานของร่างกาย ทำให้ร่างกายสดชื่นไม่อ่อนเพลีย และ เมื่อในกระแสเลือดไม่ขาดน้ำตาล ก็จะทำให้ความรู้สึกหิวอาหารลดลง ไปด้วย ขณะเดียวกัน ก็ จะนำไปสะสมเป็นพลังงานสำรองในรูปของไกลโคเจนที่ตับ ทำให้ร่างกายรับรู้ว่ามีพลังงานสำรองเพียงพอ ทำให้ไม่รู้สึกหิวมาก นอกจากนี้ ยังมีผลไปกระตุ้น ให้มีการดึงเอาไขมันที่สะสมออกมาใช้เป็นพลังงานทำให้ไขมันที่สะสมอยู่ลดลงซึ่งจะมีผล ทำให้รูปร่างดีขึ้น
จากการนำสารสกัดจากผลส้มแขกมารับประทานเพื่อให้น้ำหนักลดลง พบว่าน้ำหนักตัวอาจจะไม่ลดลงเร็วมากนัก ประมาณ 1 กิโลภายใน 3-4 อาทิตย์ แต่รูปร่างจะดีขึ้น เอว(พุง) ลดลง ความอึดอัดลดน้อยลง เนื่องจากไขมันมีน้ำหนักเบากว่ากล้ามเนื้อ
ขณะที่ใช้สารสกัดจากส้มแขก คุณสามารถ รับประทานอาหารได้ตามสมควร แต่ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทไขมันลงบ้าง และเมื่อความรู้สึกหิวน้อยลงจากการที่ร่างกายได้รับพลังงานอย่างเพียงพอแล้วจะทำให้ นิสัยการกินอาหารจุๆ จำนวนมากก็จะค่อยๆ ลดลง และไม่กลับมาอ้วนใหม่
ผลส้มแขก จนถึงบัดนี้ ยังไม่พบผลข้างเคียงหรืออันตรายที่เกิดขึ้นจากการรับประทานตามขนาดที่แนะนำ แต่ไม่ว่าจะลดน้ำหนัก ด้วยวิธีใด การปรับเปลี่ยน พฤติกรรมในการกินอาหาร ควบคู่กับการออกกำลังกายที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ได้ผลเร็วและปลอดภัยกว่ายาใดๆทั้งหมด

สารประกอบฟีนอล

สารประกอบฟีนอลิก (phenolic compound) หรือสารประกอบฟีนอล เป็นสารที่พบตามธรรมชาติในพืชหลายชนิด เช่น ผัก ผลไม้ เครื่องเทศ สมุนไพรถั่วเมล็ดแห้ง เมล็ดธัญพืชซึ่งถูกสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ในการเจริญเติบโต สารประกอบฟีนอลิก มีโภชนเภสัช ซึ่งสรรพคุณที่ดีต่อสุขภาพ สามารถต้านอนุมูลิสระ (antioxidant) สามารถละลายน้ำได้ และ โครงสร้างโมเลกุลของสารประกอบฟีนอลิก สารประกอบฟีนอลิก มีสูตรโครงสร้างทางเคมีเป็นวงแหวน ที่เป็นอนุพันธ์ของเบนซิน มีหมู่ไฮดรอกซิล (-OH-group) อย่างน้อยหนึ่งหมู่ ต่ออยู่ สารฟีนอลิกพื้นฐาน คือ ฟีนอล (phenol) ประกอบด้วยวงแหวนเบนซิน 1 วง และหมู่ไฮดรอกซิล 1 หมู่
phenolic compound
สารประกอบฟีโนลิกที่พบในธรรมชาติมีมากมายหลายชนิด มีลักษณะสูตรโครงสร้างทางเคมีที่แตกต่างกัน ตั้งแต่กลุ่มที่มีโครงสร้างอย่างง่าย เช่น กรดฟีนอลิก (phenolic acids) ไปจนถึงกลุ่มที่มีโครงสร้างเป็นโพลิเมอร์ เช่น ลิกนิน (lignin) กลุ่มใหญ่ที่สุดที่พบคือ สารประกอบพวกฟลาโวนอยด์ (flavonoid)
สารประกอบฟีนอลิก ที่พบในพืชมักจะรวมอยู่ในโมเลกุลของน้ำตาลในรูปของสารประกอบไกลโคไซด์ (glycoside) น้ำตาลชนิดที่พบมากที่สุดในโมเลกุลของสารประกอบฟีนอลิก คือ น้ำตาลกลูโคส (glucose) และ พบว่าอาจมีการรวมตัวกันระหว่างสารประกอบฟีนอลด้วยกันเอง หรือสารประกอบฟีนอลกับสารประกอบอื่นๆ เช่น กรดอินทรีย์ (organic acid) รวมอยู่ในโมเลกุลของโปรตีนอัลคาลอยด์ (alkaloid) และเทอร์พีนอยด์ (terpenoid) เป็นต้น

ส้มแขก

ส้มแขก ชื่อวิทยาศาสตร์: Garcinia atroviridis ชื่ออื่นคือ ส้มควาย ส้มมะวน ชะมวงช้าง เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Guttiferae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับมังคุด ชะมวง เปลือกต้นเมื่ออ่อนสีเขียว พอแก่เป็นสีน้ำตาลอมดำ ใบเดี่ยว เรียบเป็นมัน ดอกช่อ แยกเพศ แยกต้น เมื่ออ่อนมีกลีบเลี้ยงสีเขียวหุ้ม ผลเป็นผิวเดี่ยว ผิวเรียบ เนื้อผลที่เป็นเนื้อแข็งมีรสเปรี้ยว เนื้อหุ้มเมล็ดสีส้มมีรสหวาน มี 5-8 เมล็ด

ใบส้มแขก
เนื้อส่วนที่แข็ง มีกรดซิตริก กรดทาทาร์ริก กรดมาลิกและ กรดแอสคอร์บิก กรดไฮดรอกซีซิตริก และ ฟลาโวนอยด์ นำมาปรุงรสเปรี้ยวในอาหารเช่น แกงส้ม หรือทำเครื่องดื่มลดความอ้วน ผลส้มแขกสุกเป็นสีส้มเหลือง ส้มแขกที่หั่นเป็นชิ้นแล้วตากแดดให้แห้ง ในภาษามาเลย์เรียกอาซัมเกอปิง มีขายทางการค้า ใช้แต่งรสเปรี้ยวในสลัด แกง และต้มต่างๆ

ปลีกล้วย



ปลีกล้วย คือดอกรวมที่มีกาบขนาดใหญ่ห่อหุ้มอยู่ภายนอกเรียงตัวทับซ้อนกันแน่นเป็นรูปดอกบัวตูมทรงสูง แต่ดอกกล้วยที่แท้จริงก็คือส่วนที่เป็นหลอดสีเหลืองที่ติดและเรียงตัวอยู่รอบแกนขนาดใหญ่รวมกันเป็นช่อดอกแต่ละช่อจะถูกแบ่งกั้นด้วยกาบที่มีสีน้ำตาลแดงเป็นชั้น ๆ กล้วยหนึ่งดอกจะเจริญเป็นผลกล้วยเพียงหนึ่งผล กล้วยหนึ่งช่อก็คือกล้วยหนึ่งหวี และกล้วยหลาย ๆ หวีมารวมกันเราเรียกว่ากล้วยหนึ่งเครือหัวปลี กินได้ทั้งแบบดิบและสุก แบบดิบทำในรูปของผักเป็นเครื่องเคียง รสชาติฝาดถ้านำไปปรุงสุก รสชาติจะนุ่มหวานนิด ๆ หัวปลี เป็นอาหารบำรุงน้ำนมของผู้หญิงที่กำลังมีบุตร มีธาตุเหล็กอยู่มาก ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร อุดมไปด้วย แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ และ ซี ในตำรายาพื้นบ้านของประเทศอินเดีย ได้ระบุว่า น้ำคั้นจากหัวปลีกล้วยมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ปลีกล้วยจึงเป็นอาหารสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน.

ปฏิกิริยาเคมี

         ปฏิกิริยาเคมี (Chemical reaction) คือกระบวนการที่เกิดจากการที่สารเคมีเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วส่งผลให้เกิดสารใหม่ขึ้นมาซึ่งมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิม การเกิดปฏิกิริยาเคมีจำเป็นต้องมีสารเคมีตั้งต้น 2 ตัวขึ้นไป ซึ่งเรียกสารเคมีตั้งต้นเหล่านี้ว่า "สารตั้งต้น" (reactant) ทำปฏิกิริยาต่อกัน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคุณสมบัติทางเคมี ซึ่งก่อตัวขึ้นมาเป็นสารใหม่ที่เรียกว่า "ผลิตภัณฑ์" (product) ในที่สุด สารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจมีคุณสมบัติทางเคมีที่ต่างจากสารตั้งต้นเพียงเล็กน้อย แต่ในขณะเดียวกันสารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจจะแตกต่างจากสารตั้งต้นของมันโดยสิ้นเชิง แต่เดิมแล้ว คำจำกัดความของปฏิกิริยาเคมีจะเจาะจงไปเฉพาะที่การเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอน ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างและสลายของพันธะเคมีเท่านั้น แม้ว่าแนวคิดทั่วไปของปฏิกิริยาเคมี โดยเฉพาะในเรื่องของสมการเคมี จะรวมไปถึงการเปลี่ยนสภาพของอนุภาคธาตุ (เป็นที่รู้จักกันในนามของไดอะแกรมฟายน์แมน) และยังรวมไปถึงปฏิกิริยานิวเคลียร์อีกด้วย แต่ถ้ายึดตามคำจำกัดความเดิมของปฏิกิริยาเคมี จะมีปฏิกิริยาเพียง 2 ชนิดคือปฏิกิริยารีดอกซ์และปฏิกิริยากรด-เบส เท่านั้น โดยปฏิกิริยารีดอกซ์นั้นเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอนเดี่ยว และปฏิกิริยากรด-เบส เกี่ยวกับคู่อิเล็กตรอน