วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประโยชน์ของส้มแขก





ส้มแขก( Garcenia Cambogia) เป็นพืชพื้นบ้านดั้งเดิมของไทย ที่นิยมใช้ในการประกอบอาหารมาเป็นเวลานานแล้ว ลักษณะของผลส้มแขก จะคล้ายฟักทองขนาดเล็ก มีมากทางภาคใต้ กิน lipo twin ซึ่งมีการนำมาปรุงเป็นอาหารโดย ใช้เพิ่มรสเปรี้ยวให้อาหารได้มีการค้นคว้าพบว่า ผลส้มแขก มีสาร HCA หรือ Hydroxy-citric acid อยู่เป็นจำนวนมาก โดยพบว่า HCA นี้มีคุณสมบัติในการยับยั้งการสะสมของไขมันส่วนเกินในร่างกาย และลดความอยากอาหารได้ จึงได้มีบางคนนำผลส้มแขกมาใช้ในการควบคุมน้ำหนัก
กลไกการออกฤทธิ์ของ HCA จะออกฤทธิ์โดยการไปยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ ATP Citrate Lyase ในวงจร Kreb's cycle (วงจรการย่อยสลายกลูโคส ของเซลร่างกาย) ทำให้ยับยั้งการนำน้ำตาล จากอาหารประเภท แป้ง ข้าว และน้ำตาล ไม่ให้เปลี่ยนไปเป็นไขมันสะสมตามร่างกายแต่จะนำไปใช้เป็นพลังงานของร่างกาย ทำให้ร่างกายสดชื่นไม่อ่อนเพลีย และ เมื่อในกระแสเลือดไม่ขาดน้ำตาล ก็จะทำให้ความรู้สึกหิวอาหารลดลง ไปด้วย ขณะเดียวกัน ก็ จะนำไปสะสมเป็นพลังงานสำรองในรูปของไกลโคเจนที่ตับ ทำให้ร่างกายรับรู้ว่ามีพลังงานสำรองเพียงพอ ทำให้ไม่รู้สึกหิวมาก นอกจากนี้ ยังมีผลไปกระตุ้น ให้มีการดึงเอาไขมันที่สะสมออกมาใช้เป็นพลังงานทำให้ไขมันที่สะสมอยู่ลดลงซึ่งจะมีผล ทำให้รูปร่างดีขึ้น
จากการนำสารสกัดจากผลส้มแขกมารับประทานเพื่อให้น้ำหนักลดลง พบว่าน้ำหนักตัวอาจจะไม่ลดลงเร็วมากนัก ประมาณ 1 กิโลภายใน 3-4 อาทิตย์ แต่รูปร่างจะดีขึ้น เอว(พุง) ลดลง ความอึดอัดลดน้อยลง เนื่องจากไขมันมีน้ำหนักเบากว่ากล้ามเนื้อ
ขณะที่ใช้สารสกัดจากส้มแขก คุณสามารถ รับประทานอาหารได้ตามสมควร แต่ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทไขมันลงบ้าง และเมื่อความรู้สึกหิวน้อยลงจากการที่ร่างกายได้รับพลังงานอย่างเพียงพอแล้วจะทำให้ นิสัยการกินอาหารจุๆ จำนวนมากก็จะค่อยๆ ลดลง และไม่กลับมาอ้วนใหม่
ผลส้มแขก จนถึงบัดนี้ ยังไม่พบผลข้างเคียงหรืออันตรายที่เกิดขึ้นจากการรับประทานตามขนาดที่แนะนำ แต่ไม่ว่าจะลดน้ำหนัก ด้วยวิธีใด การปรับเปลี่ยน พฤติกรรมในการกินอาหาร ควบคู่กับการออกกำลังกายที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ได้ผลเร็วและปลอดภัยกว่ายาใดๆทั้งหมด

สารประกอบฟีนอล

สารประกอบฟีนอลิก (phenolic compound) หรือสารประกอบฟีนอล เป็นสารที่พบตามธรรมชาติในพืชหลายชนิด เช่น ผัก ผลไม้ เครื่องเทศ สมุนไพรถั่วเมล็ดแห้ง เมล็ดธัญพืชซึ่งถูกสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ในการเจริญเติบโต สารประกอบฟีนอลิก มีโภชนเภสัช ซึ่งสรรพคุณที่ดีต่อสุขภาพ สามารถต้านอนุมูลิสระ (antioxidant) สามารถละลายน้ำได้ และ โครงสร้างโมเลกุลของสารประกอบฟีนอลิก สารประกอบฟีนอลิก มีสูตรโครงสร้างทางเคมีเป็นวงแหวน ที่เป็นอนุพันธ์ของเบนซิน มีหมู่ไฮดรอกซิล (-OH-group) อย่างน้อยหนึ่งหมู่ ต่ออยู่ สารฟีนอลิกพื้นฐาน คือ ฟีนอล (phenol) ประกอบด้วยวงแหวนเบนซิน 1 วง และหมู่ไฮดรอกซิล 1 หมู่
phenolic compound
สารประกอบฟีโนลิกที่พบในธรรมชาติมีมากมายหลายชนิด มีลักษณะสูตรโครงสร้างทางเคมีที่แตกต่างกัน ตั้งแต่กลุ่มที่มีโครงสร้างอย่างง่าย เช่น กรดฟีนอลิก (phenolic acids) ไปจนถึงกลุ่มที่มีโครงสร้างเป็นโพลิเมอร์ เช่น ลิกนิน (lignin) กลุ่มใหญ่ที่สุดที่พบคือ สารประกอบพวกฟลาโวนอยด์ (flavonoid)
สารประกอบฟีนอลิก ที่พบในพืชมักจะรวมอยู่ในโมเลกุลของน้ำตาลในรูปของสารประกอบไกลโคไซด์ (glycoside) น้ำตาลชนิดที่พบมากที่สุดในโมเลกุลของสารประกอบฟีนอลิก คือ น้ำตาลกลูโคส (glucose) และ พบว่าอาจมีการรวมตัวกันระหว่างสารประกอบฟีนอลด้วยกันเอง หรือสารประกอบฟีนอลกับสารประกอบอื่นๆ เช่น กรดอินทรีย์ (organic acid) รวมอยู่ในโมเลกุลของโปรตีนอัลคาลอยด์ (alkaloid) และเทอร์พีนอยด์ (terpenoid) เป็นต้น

ส้มแขก

ส้มแขก ชื่อวิทยาศาสตร์: Garcinia atroviridis ชื่ออื่นคือ ส้มควาย ส้มมะวน ชะมวงช้าง เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Guttiferae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับมังคุด ชะมวง เปลือกต้นเมื่ออ่อนสีเขียว พอแก่เป็นสีน้ำตาลอมดำ ใบเดี่ยว เรียบเป็นมัน ดอกช่อ แยกเพศ แยกต้น เมื่ออ่อนมีกลีบเลี้ยงสีเขียวหุ้ม ผลเป็นผิวเดี่ยว ผิวเรียบ เนื้อผลที่เป็นเนื้อแข็งมีรสเปรี้ยว เนื้อหุ้มเมล็ดสีส้มมีรสหวาน มี 5-8 เมล็ด

ใบส้มแขก
เนื้อส่วนที่แข็ง มีกรดซิตริก กรดทาทาร์ริก กรดมาลิกและ กรดแอสคอร์บิก กรดไฮดรอกซีซิตริก และ ฟลาโวนอยด์ นำมาปรุงรสเปรี้ยวในอาหารเช่น แกงส้ม หรือทำเครื่องดื่มลดความอ้วน ผลส้มแขกสุกเป็นสีส้มเหลือง ส้มแขกที่หั่นเป็นชิ้นแล้วตากแดดให้แห้ง ในภาษามาเลย์เรียกอาซัมเกอปิง มีขายทางการค้า ใช้แต่งรสเปรี้ยวในสลัด แกง และต้มต่างๆ

ปลีกล้วย



ปลีกล้วย คือดอกรวมที่มีกาบขนาดใหญ่ห่อหุ้มอยู่ภายนอกเรียงตัวทับซ้อนกันแน่นเป็นรูปดอกบัวตูมทรงสูง แต่ดอกกล้วยที่แท้จริงก็คือส่วนที่เป็นหลอดสีเหลืองที่ติดและเรียงตัวอยู่รอบแกนขนาดใหญ่รวมกันเป็นช่อดอกแต่ละช่อจะถูกแบ่งกั้นด้วยกาบที่มีสีน้ำตาลแดงเป็นชั้น ๆ กล้วยหนึ่งดอกจะเจริญเป็นผลกล้วยเพียงหนึ่งผล กล้วยหนึ่งช่อก็คือกล้วยหนึ่งหวี และกล้วยหลาย ๆ หวีมารวมกันเราเรียกว่ากล้วยหนึ่งเครือหัวปลี กินได้ทั้งแบบดิบและสุก แบบดิบทำในรูปของผักเป็นเครื่องเคียง รสชาติฝาดถ้านำไปปรุงสุก รสชาติจะนุ่มหวานนิด ๆ หัวปลี เป็นอาหารบำรุงน้ำนมของผู้หญิงที่กำลังมีบุตร มีธาตุเหล็กอยู่มาก ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร อุดมไปด้วย แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ และ ซี ในตำรายาพื้นบ้านของประเทศอินเดีย ได้ระบุว่า น้ำคั้นจากหัวปลีกล้วยมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ปลีกล้วยจึงเป็นอาหารสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน.

ปฏิกิริยาเคมี

         ปฏิกิริยาเคมี (Chemical reaction) คือกระบวนการที่เกิดจากการที่สารเคมีเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วส่งผลให้เกิดสารใหม่ขึ้นมาซึ่งมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิม การเกิดปฏิกิริยาเคมีจำเป็นต้องมีสารเคมีตั้งต้น 2 ตัวขึ้นไป ซึ่งเรียกสารเคมีตั้งต้นเหล่านี้ว่า "สารตั้งต้น" (reactant) ทำปฏิกิริยาต่อกัน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคุณสมบัติทางเคมี ซึ่งก่อตัวขึ้นมาเป็นสารใหม่ที่เรียกว่า "ผลิตภัณฑ์" (product) ในที่สุด สารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจมีคุณสมบัติทางเคมีที่ต่างจากสารตั้งต้นเพียงเล็กน้อย แต่ในขณะเดียวกันสารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจจะแตกต่างจากสารตั้งต้นของมันโดยสิ้นเชิง แต่เดิมแล้ว คำจำกัดความของปฏิกิริยาเคมีจะเจาะจงไปเฉพาะที่การเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอน ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างและสลายของพันธะเคมีเท่านั้น แม้ว่าแนวคิดทั่วไปของปฏิกิริยาเคมี โดยเฉพาะในเรื่องของสมการเคมี จะรวมไปถึงการเปลี่ยนสภาพของอนุภาคธาตุ (เป็นที่รู้จักกันในนามของไดอะแกรมฟายน์แมน) และยังรวมไปถึงปฏิกิริยานิวเคลียร์อีกด้วย แต่ถ้ายึดตามคำจำกัดความเดิมของปฏิกิริยาเคมี จะมีปฏิกิริยาเพียง 2 ชนิดคือปฏิกิริยารีดอกซ์และปฏิกิริยากรด-เบส เท่านั้น โดยปฏิกิริยารีดอกซ์นั้นเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอนเดี่ยว และปฏิกิริยากรด-เบส เกี่ยวกับคู่อิเล็กตรอน

วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บันทึกความดีประจำวันพฤหัสบดี ที่ 27 มิถุนายน 2556


  1. ตื่นนอน
  2. อาบน้ำ แต่งตัว
  3. ไหว้คุณพ่อคุณแม่
  4. ให้ตังค่าขนมน้อง
  5. ไปโรงเรียน
  6. ไหว้คุณครู
  7. เข้าแถวเคารพธงชาติ
  8. รับประทานอาหารกลางวัน
  9. เรียนพิเศษต่อ
  10. กลับบ้าน ไหว้คุณพ่อคุณแม่